วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 02, 2555

ตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

การคมนาคมดี เศรษฐกิจมั่งคั่ง ดำรงวัฒนธรรม ก้าวนำคุณภาพชีวิต

สภาพทั่วไป



ที่ตั้ง

จากการจัดทำแผนพัฒนาตำบลบ้านบาก ประจำปี 2550 ตำบลบ้านบากมีสภาพทั่วไป ดังนี้ตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยแยกออกมาจากตำบล ศรีสมเด็จ มีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 8 หมู่บ้าน อยู่ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอศรี-สมเด็จ ห่างจากที่ทำการอำเภอศรีสมเด็จ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 18.31 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 11,443.75 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตร 11,003 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ดอนและที่ราบ บางส่วนเป็นดินทราย มีอาณาเขตดังนี้

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตำบลศรีสมเด็จและตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดกับเขตอำเภอโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดกับตำบลหนองแวงควง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
เนื่องจากสภาพส่วนใหญ่เป็นที่ดอน จึงมักประสบภาวะฝนแล้งเสมอ ลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ลำห้วยเหนือ เป็นลำน้ำที่สำคัญของผู้ประกอบอาชีพการเกษตรของตำบลบ้านบาก ซึ่งไหลผ่าน ทิศเหนือของตำบลไหลผ่านตำบลส่วนจิกตำบลเมืองเปลือย ตำบลหนองใหญ่ ตำบลขอนแก่น เข้าสู่อำเภอเมือง



ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลบ้านบากอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดในช่วงฤดูหนาวและแห้งแล้ง ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ลมนี้จะพัดฝนช่วงฤดูฝนทำให้อากาศชุมชื่นและมีฝนตกทั่วไปเมื่อพิจารณาจากลมฟ้าอากาศแล้วตำบลบ้านบากแบ่งได้ 3 ฤดู คือ
1. ฤดูฝนเริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เดือนที่มีฝนตกชุกคือเดือนกันยายน
2. ฤดูหนาวเริ่มจากเดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ และกลางเดือนมกราคม อากาศมักหนาวที่สุด อากาศต่ำสุดประมาณ 18 องศา
3. ฤดูร้อนเริ่มจากเดือนมีนาคม ถึง กลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนที่สุดใน เดือนเมษายนอากาศร้อนที่สุด ประมาณ 37 องศา

สถิติประชากรและการศึกษา


 โรงเรียนประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 แห่งตั้งอยู่ที่บ้านหนองแดงหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
จำนวนประชากรตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

หมู่ที่
ชื่อ - หมู่บ้าน
จำนวนหลังคาเรือน
จำนวนประชากร
รวม
ชาย
หญิง
หมู่ที่ 1
บ้านหนองผักตบ
118
319
340
659
หมู่ที่ 2
บ้านโนนทัน
57
154
144
298
หมู่ที่ 3
บ้านโนนเหลี่ยม
63
144
155
299
หมู่ที่ 4
บ้านหนองคูยาง
45
110
155
225
หมู่ที่ 5
บ้านโดนน้อย
61
132
135
267
หมู่ที่ 6
บ้านหนองแซง
55
161
145
306
หมู่ที่ 7
บ้านบาก
97
217
215
432
หมู่ที่ 8
บ้านหนองแดง
84
220
220
440
รวม
580
1,459
1,407
2,866



องค์กรทางการศึกษา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 2 แห่ง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองผักตบหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาก ตั้งอยู่ที่บ้านบาก หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวังร้อยเอ็ด

ด้านเศรษฐกิจและสังคม

อาชีพ
การเกษตรกรรมประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลบ้านบาก มีอาชีพทำนาและทำไร่ยาสูบเตอร์กิซ การทำนาส่วนใหญ่ใช้วิธีการปักดำและมีบางส่วนใช้วิธีการหว่านข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวเหนียวและเป็นพื้นที่ปรับปรุงแล้ว ส่วนข้าวหอมมะลิ ประชาชนยังไม่นิยมปลูกเพาะพื้นที่เพาะปลูกมีจำนวนน้อย
การใช้ที่ดิน
ในตำบลบ้านบากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายซึ่งขาดความอุดมสมบูรณ์ประกอบกับการขาดแคลนน้ำธรรมชาติ จัดเป็นอุปสรรคในการเกษตร ในการปรับปรุงดินประชาชนยังขาดความรู้ ในการใช้ปุ๋ยมาบำรุงดินจึงทำให้ผลผลิตตกต่ำมีผลทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรไม่ดีเท่าที่ควรจึงมีหน่วยงานทางราชการได้สนับสนุนการประกอบอาชีพเสริมหลังจากว่างเว้นฤดูทำนาบางอาชีพก็สามารถประกอบกิจกรรมควบคู่ไปพร้อมกับการทำนา เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้กับครอบครัว
ปศุสัตว์
สัตว์ที่เลี้ยงเกือบทุกหลังคาเรือนได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ด และไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่ครอบครัวที่ประกอบกิจการโรงสีข้าวจะนิยมเลี้ยงสุกรกันมากเพราะได้รำจากสีข้าวทำให้ประหยัดการลงทุนการประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์เลี้ยง เป็ด ไก่ ส่วนมากเลี้ยงเพื่อการบริโภคการประกอบอาชีพเสริมเลี้ยงโค กระบือ เลี้ยงเพื่อขายเป็นรายได้รองจากการทำนา
การประมง
เกษตรกรในตำบลบ้านบากจะมีการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ โดยทำบ่อบนดินผิวดิน เลี้ยงปลาดุกแบบในบ่อดิน และมีบางรายได้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาดุกอุยเทศ เพื่อเป็นอาชีพรองเพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่สามารถทำได้ตลอดปีใช้ระยะเวลาสั้น และสามารถประกอบควบคู่ไปพร้อมกับการทำนาได้และเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดี
การพาณิชย์
ตำบลบ้านบากมีโรงสีข้าว อย่างน้อยเฉลี่ยหมู่บ้านละ 2 แห่ง นอกจากนั้นเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนตำบลบ้านบากมีตลาดนัด 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านบาก ตำบลบ้านบาก เปิดทุกวันเสาร์ โดยมีประชาชนในตำบลบ้านบากและตำบลใกล้เคียงนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่าย มีร้านกองทุนภายในหมู่บ้าน 2 แห่ง คือบ้านหนองผักตบ และบ้านโนนทัน  

กลุ่มอาชีพในชุมชน

กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองแดง

สถานที่ตั้ง : 84 หนองแดง หมู่ 8 ตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
ผู้นำชุมชนและกลุ่ม : นางหนูแดง ชาญการี

กลุ่มทอเสื่อกก

สถานที่ตั้ง : 94 โนนทัน หมู่ 2 ตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
ผู้นำชุมชนและกลุ่ม : นางทองสุด พันอนุ


  ด้านบริการตำบลบ้านบากมีสถานบริการที่ให้บริการ  ดังนี้
1.  ร้านจำหน่ายอาหารมีตามหมู่บ้านที่มีประชาชนหนาแน่นบางหมู่บ้าน
2.  ร้านขายของชำทั้งตำบล  จำนวน  31   ร้าน
3.  ร้านซ่อมรถยนต์  1  ร้าน
4. ร้านซ่อมจักรยานยนต์  จำนวน  5  ร้าน
5.  ร้านบริการน้ำมันแบบมือหมุน  จำนวน  1  ร้าน
6.  โรงสีข้าว  จำนวน  9  โรง


สังคมและวัฒนธรรมประชาชนในตำบลบ้านบากเป็นผู้อยู่ในวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่  เป็นผู้ทำงานในภาคเกษตร
กรรม   และมีงานทำตลอดทั้งปีมีแรงงานส่วนใหญ่อพยพไปทำงานท้องถิ่นอื่นประชากรของตำบลบ้านบากดำรงชีวิตประจำวันตามจารีตประเพณีนิยมที่สำคัญคือ  งานบุญประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่  ประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน  
                        
การสาธารณสุขตำบลบ้านบากมีสถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง  ตั้งอยู่บ้านโดนน้อย  หมู่ที่  5  มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานให้การช่วยเหลือ  และปรึกษาด้านสุขภาพของประชาชนตำบลบ้านบาก  ใช้ส้วมราดน้ำ  100  เปอร์เซ็นต์
ระบบบริการพื้นฐานการคมนาคม  ในตำบลบ้านบากถนนลูกรังเชื่อมลูกรังติดต่อทุกหมู่บ้าน  สามารถติดต่อกันได้ทุกฤดูกาล   แต่ช่วงฤดูฝนไม่สะดวกนักมีถนนลาดยาง  2  สาย  โทรศัพท์  4  แห่ง   ตั้งอยู่หมู่ที่ 7  จำนวน  2  ที่ และตั้งอยู่หมู่ที่ 1 จำนวน 2 ที่  หมู่ที่  2  จำนวน 1  ที่   หมู่ที่  4  จำนวน  2  ที่  หมู่ที่  6  จำนวน  2  ที่ โดยเป็นโทรศัพท์สาธารณะการไฟฟ้ามีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน  ทุกครอบครัวทรัพยากรธรรมชาติตำบลบ้านบากมีที่ดินทั้งสิ้น  11,44.75  ไร่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร  11,003  ไร่ สภาพดินเป็นดินทรายทุกหมู่บ้าน


 
ศักยภาพและปัญหาในชุมชน
จุดแข็ง
    1. มีพื้นที่สำหรับการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ที่กว้างขวาง
    2. มีแรงงานเป็นจำนวนมากและค่าแรงงานต่ำ
    3. เป็นศูนย์กลางในการประสานงานของท้องถิ่น
    4. ประชาชนสาวนใหญ่มีความสงบเป็นพลเมืองมีการอนุรักษ์รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้เป็นอย่างดี
    5. เป็นแหล่งผลิตยาสูบพันธุ์เตอร์กิซ
    6. มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณสถาน
    7. เกษตรกรมีความขยัน  สามารถทำการเกษตรตลอดปี
 จุดอ่อน
    1. มีปัญหาภัยธรรมชาติ
    2. เส้นทางการคมนาคมยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร/ผิวจราจรไม่ดี
    3. ประชากรมีการศึกษาต่ำ
    4. ระบบการบริหารจัดการน้ำยังไม่เพียงพอ
    5. ผลผลิตทางการเกษตรราคาต่ำ/ไม่จูงใจเกษตรกร
    6. เกษตรกรยังนิยมใช้สารเคมี
    7. แรงงานขาดทักษะและความชำนาญ
    8. ขาดการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง ขาดการมีส่วนร่วม
โอกาส
    1. ความต้องการแรงงานยังมีมาก
    2. นโยบายส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว
    3. กระแสตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ (อาหารปลอดสารพิษ)
    4. นโยบายสนับสนุนสินค้า OTOP
ปัญหาและอุปสรรค
  • 1. ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ เนื่องจากสภาพดินเป็นดินทรายทุกหมู่บ้าน  ขาดความอุดมสมบูรณ์ไม่อุ้มน้ำทำให้ผลผลิตต่ำ เกิดสภวะขาดแคลนน้ำเมื่อยามหน้าแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมาก
  • 2. แรงงานราคาถูก เนื่องจากประชาชนในชุมชนมีความรู้ต่ำจึงทำให้ค่าแรงงานที่จ้างก็ต่ำเช่นเดียวกัน
  • 3. เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีในการเกษตร
  • 4. ขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ในการร่วมกลุ่มทำกิจกรรมภายในชุมชนยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นชาวบ้านอ้างว่ามีงานต้องทำ
  • 5. ปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของตำบล
    1.) โรคไข้เลือดออก
    2.)โรคทางเดินอาหาร  ได้แก่  โรคอุจจาระร่วง  อาหารเป็นพิษ
    3.) โรคมะเร็ง
    4.)โรคเอดส์
    5.) โรคเลปโตสไปโรซีส
    6.) การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ 
  • 6. ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำ   แหล่งน้ำประเภทห้วย หนอง คลอง   สระ   มีสภาพตื้นเขินไม่สามารถเก็บกักได้ตลอดปี ขาดฝายกั้นน้ำตำบลบ้านบากไม่มีป่าไม้ธรรมชาติส่วนมากเกษตรกรในตำบลจับสัตว์น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีไม่มากนัก  เช่น  อ่างเก็บ  น้ำ  หนอง  และแหล่งเพาะเลี้ยง  จะเป็นปลาในนาข้าว  และขุดบ่อดักปลา  เพื่ออุปโภคและบริโภค
มุมมององชุมชน

ข่าวสารในชุมชน
ในแต่ละหมู่บ้านจะมีหอกระจายข่าวและมีศูนย์กลางหมู่บ้านหรือที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ที่ศูนย์กลางหมู่บ้านหรือที่ทำการผู้ใหญ่บ้านจะมีหนังสือราชการและหนังสือข่าวสารต่างๆเพื่อให้ชาวบ้านรับรู้ข้อมูลข่าวสารของตำบลและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชน นอกจากนี้ก็จะมีข่าวสารจากเว็บไซค์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบาก ที่ http://www.banbak.go.th ซึ่งสามารถอัฟเดตข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วและสะดวกสบสายยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดี, มกราคม 26, 2555

เทคนิคว่ายน้ำ ให้ผอมทันใจวัยรุ่น

       สาวๆคงจะทราบดีอยู่แล้วว่าการว่ายน้ำเป็นวิธีออกกำลังกาย ที่ช่วยให้หุ่นสวยได้ทุกสัดส่วน แต่จะดีแค่ไหน ถ้าหากจะทำให้เห็นผลเร็วยิ่งขึ้น เทคนิคไม่ยากแค่ 4 ท่า ก็จะทำให้หุ่นสวยเร็วขึ้นแบบทันใจวัยรุ่นกัยเลยทีเดียวละค๊า..
 
     เวลาว่ายน้ำอย่าเอาแต่จ้วงอย่างเดียวนะค่ะ ต้องทำท่าออกกำลังกาย 4 ท่านี้ด้วย แล้วความผอมจะมาให้คุณชื่นใจเร็วกว่าที่คาด

       ท่าที่ 1
  1. งอข้อศอกขึ้นมาระดับไหล่ งอเข่าขวาขึ้นมาระดับอกพร้อมกับบิดลำตัวไปทางขวา เอาขาลง
  2. เปลี่ยนมายกเข่าขวาเข้าหาอกแทน พร้อมกับบิดลำตัวไปด้านซ้าย ท่านี้จะเหมือนคุณเดินย่ำเท้าอยู่กับที่ แต่ต้องยกเข่าให้สูงและต้องบิดลำตัวมากๆ
       ท่าที่ 2
  1. กางแขนทั้งสองข้างออกให้สุด จับขอบสระไว้ หันหน้าออกจากขอบสระ
  2. งอเข่าทั้งสองข้างเข้าหาอก ปลายเท้าชี้ลงข้างล่าง
  3. เอาเท้าลง เกร็งหน้าท้อง แล้วยกเข่าเข้าหาอกอีก ทำแบบเดิม ยกขึ้นๆลงๆอย่างน้อย 20 ครั้ง
        ท่าที่ 3
  1. นอนคว่ำให้อกพาดบนโฟมสำหรับลอยตัว สองทั้งสองจับขอบโฟมไว้
  2. เหยียดขาไปด้านหลังดันโฟมลงก้นสระ
  3. งอข้อศอกแล้วดึงโฟมเข้ามาหาตัว ทำซ้ำๆทั้งหมด 20 ครั้ง ระหว่างที่ทำอย่าลืมเกร็งหหน้าท้องไว้ด้วย
        ท่าที่ 4
  1. ยืนตัวตรง ถือโฟมไว้แนบอกด้วยมือทั้งสองข้าง
  2. ผลักโฟมออกจากตัวยืดแขนทั้งสองข้างให้ตึงที่สุด พร้อมเก้าเท้าขวาไปข้างหน้า
  3. ดึงโฟมเข้าหาตัว พร้อมกับสลับเท้าซ้ายไปข้างหน้า ทำซ้ำๆ 20-30 ครั้ง 

วิธีป้องกันไมเกรน ยามอากาศร้อน


       เป็นที่รู้กันในหมู่คนที่เป็นไมเกรนว่า เจ้าไมเกรนเพื่อนซี้จะชอบมาเคาะประตูบ้านเวลาอากาศร้อนๆ แล้วจะต้องทำยังไงละถึงจะป้องกันไมเกรนได้?? วันนี้ Blog Everything หาคำตอบมาให้แล้วจ๊ะ ถ้าไม่อยากให้เจ้าไมเกรนกำเริบในเวลาที่อากาศร้อนๆต้องปฎิบัติตัวดังนี้
  • ไม่อยู่ในที่ที่มีอากาสร้อนจัดหรือที่ที่คนแออัด ถ้าต้องอยู่ในที่ีที่แดดจ้าควรจะใส่แว่นกันแดนเพื่อไม่ให้แสงแดดเข้าตา
  • ทานอาหารให้ครบทุกมื้อโดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะหากปล่อยให้ท้องว่างมากกว่า 7-8 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลจะลดต่ำ ทำให้อาการไมเกรนกำเริบได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • การออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้ไมแกรนดีขึ้น ได้เพราะร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ช่วยบรรเทาความเครียดและปรับอารมณ์ให้เป็นปกติ ซึ่งจะช่วยให้ไมเกรนถามหาน้อยลง แต่ในขณะที่มีอาการไมเกรนไม่ควรออกกำลังกาย เพราะจะทำให้ยิ่งปวดหัวมากขึ้นได้นะจ๊ะ



อาหารสำหรับแต่ละสภาพผิว


ที่ผิวของคุณไม่สวยสมใจ อาจเป็นเพราะคุณกินอาหารไม่ตรง
กับความต้องการของผิวก็ได้ ลองเปลี่ยนมาทานอาหารต่อไป
นี้สิ แล้วผิวของคุณจะสวยวิ้งจนหนุ่มๆ เหลียวหลังเลย

        คนผิวเห้ง    ผิวของคุณต้องการวินตามีนอีมาเพิ่มความชุ่มชื่น
นอกจากนี้สาวผิวแห้งต้องกินปลาที่มีน้ำมันปลามากๆ เช่น ปลาแมคคอเรล ปลาแซลมอน ปลากระตัก เมล็ดธัญพืช ถั่วเปลือกแข็งชนิดต่างๆ และต้องลดอาหารที่ใส่ไขมันประเภทมาร์การีน อาหารฟาสต์ฟู้ด พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ของเค็ม มันฝรั่งทอด บิสกิต และ น้ำตาลขัดขาว

        คนผิวมัน     ควรทานผลไม้ ผักสดเพื่อทำให้ผิวชุ่มชื่นขึ้น โดยเฉพาะ สัปะรด มะละกอ อะโวคาโด ถั่วเปลือดแข็ง และเมล็ดธัญพืชและต้องลดอาหารมันๆของทอด ผลิตภัณฑ์นม เนย และเนื้อแดง เพื่อไม่ให้สภาพผิวแย่ลงไปกว่านี้

        คนผิวแพ้ง่าย     ต้องทานอาหารที่ทีวินตามีนเอ และซีมากๆ เช่น แครอท มะม่วง กีวี เนื้อสัตว์ ข้าวโอ๊ต และถั่วเปลือกแข็งให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มธาตุสังกะสีและควรงดอาหารรสจัด เพราะอาหารรสจัดจะทำให้ระบบการย่อยระคายเคือง และทำให้เยื่อบุผิวอักเสบ สังเกตได้ว่าถ้ากินของเผ็ดแล้วคุณจะหน้าแดงบางครั้งก็เกิดผดผื่นอีกด้วย

      

วันพุธ, มกราคม 25, 2555

กินอย่างไรไม่ให้ ขี้ลืม



สัญญาณที่1 ผิวเป็นขุยหรือมีอาการคัน
         เป็นสัญญาณจากร่างกายของคุณที่อย่างบอกกับคุณว่า คุณกำลังขาดวินตามีน A และ E ต้องไปหาผักและผลไม้ที่มีสีส้มสีเหลืองและสีเขียวเข็มมาโด๊ปซะแล้ว




สัญญาณที่ 2 เส้นผมหยาบไม่มีความเงางาม
         หรือบ้างคนอาจถึงกับขนาดว่าจัดผมเท่าไรก้ไม่เป็นทรง แสดงว่าคุณกำลังต้องการโปรตีนและธาตุเหล็กอย่างด่วนจี๋!! ต้องท่านเนื้อสัตว์ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ตับ และเครื่องในมากๆ ก่อนจะสายเกินไป




สัญญาณที่ 3 ท้องผูก
         เป็นอาการที่กำลังบอกคุณว่าคุณต้องการอาหารพวกไฟเบอร์หรืออาหารที่มีกากใยสูงๆ เช่น ผัก ผลไม้ และต้องให้ดื่มน้ำให้มากๆด้วย




สัญญาณที่ 4 ข้อต่อมีเสียงดังหรือมีอาการปวดข้อต่อ
        อาจเป็นไปได้ว่าคุณกินปลาน้อยเกินไป เพระเมื่อร่างกายขาดโอมิกา-3 ที่พบมาในปลา ก็จะมีอาการแบบนี้นี้แหละจ้า




สัญญาณที่ 4 สเปิร์มน้อยลงมาก
       สังเกตได้หายๆว่าปั้มเท่าไรไอตัวเล็กก็ไม่มาเกินซักที คุณควรต้องหาวิตตามีนซีมาช่วยเพิ่มน้ำยาในการผลิตลูกเสียแล้ว ลองดื่มน้ำส้มอย่างน้อยประมาณ 1 ลิตร ทุกวันดูสิ  แล้วอะไรๆก็จะดีขึ้นเอง


 

สัญญาณที่6 หัวใจเต้นผิดปกติ
        ถ้าหัวใจเต้นเร็วหรืเต้นแรงเกินไป คุณจะหน้ามืดง่าย เหนื่อยเร็วและเวียนหัวด้วย อาการแบบนี้ฟันธงได้เลยว่าคุณกำลังขาดอาหารจำพวกแม็กนีเซียมหรืโปรเตสเซียมเข้าแล้ว แต่แก้ไขด้วยการกินกล้วยหอมหรือกินบร็อคโคลี่มากๆ เดี๋ยวดีเอง




สัญญาณที่ 7 ปวดเหงือก
       หรือมีปัญหาเกี่ยวกับเหงือก สาเหตุน่าจะเป็นเพราะมีแบคทีเรียในช่องปากงานนี้คงต้องใช้บริการจากโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวซะแล้ว เพราะแบคทีเรียในนมเปรี้ยวจะเข้าไปฟาดฟันกับแบคทีเรียในช่องปากของคุณให้กระจุยกระจายหายซ่าไปเลย




สัญญาณที่ 8 กระดูกแตกร้าวหรือกระดูกพรุน
       ถ้าคุณกระดูกแตกง่ายมาก คาดว่ากระดูกของคุณอาจจะเปราะเกินไป ต้องเยี่ยวยาด้วยแคลเซียม วึ่งหาได้ใน นม ไข่ ผัก ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้งดยเกิร์ต เนยแข็ง ไขมันต่ำด้วยก็ดี รวมทั้งต้องทานถั่วเหลืองด้วยเพื่อให้ร่างกายได้รับไอโซฟลาโวนส์ วึ่งมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเสื่อมสลายของแคลเซี่ยมจากเนื้อกระดูก


 

สัญญาณที่ 9 ขี้ลืม
      ยังสาวอยู่เลยอัลไวเมอร์เริ่มถามหาวะแล้ว อย่างนี้ต้องปราบด้วยวินตามีน B ให้อยู่หมัด ลองหาเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และถั่วมาเป็นเมนูคู่ครัวสักพักดูซิว่ายังจะขี้ลืมมีมั้ย

วันจันทร์, มกราคม 23, 2555

คนไทยค้นหาคำอะไรมากที่สุดใน Google Search?

ปีที่ผ่านมา คนไทยค้นหาคำอะไรมากที่สุดใน Google Search?

วิถีชีวิตของคนไทยในอดีต-ปัจจุบัน

วิถีชีวิตของคนไทยสมัยต่าง ๆ



 

          วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย คือ การเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ทุกคนอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนในระดับครอบครัว เป็นครอบครัวขยายที่มีคนหลายรุ่นอาศัยอยู่รวมกัน คือ รุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ รุ่นลูก รุ่นหลาน รวมทั้งมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ใกล้ชิดกัน โดยมีศูนย์กลางของชุมชน คือ ศาสนสถาน เช่น วัด มัสยิด ผู้ใหญ่ในชุมชน เช่น พระ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ ได้รับการนับถือและเป็นผู้ตัดสินความขัดแย้งในชุมชน มีขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และความเชื่ออันเนื่องมาจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม จากการนับถือศาสนาและความเชื่อดั้งเดิมเรื่องการนับถือผีสางเทวดา
เมื่อเวลาผ่านไป สังคมมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความคิด ค่านิยม อุดมการณ์ การเมืองการปกครอง และบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งมีผลให้วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน

1. วิถีชีวิตของคนไทยสมัยสุโขทัย



         
วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยสมัยสุโขทัยสามารถสรุปออกเป็นด้าน ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมืองการปกครอง ในระยะแรกผู้ปกครองสุโขทัยมีความใกล้ชิดกับประชาชน เปรียบเสมือนกับพ่อปกครองลูก ต่อมาผู้ปกครองได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปกครอง ทำให้ผู้ปกครองทรงเป็นธรรมราชา ปกครองโดยทศพิธราชธรรม
2) ด้านเศรษฐกิจ ชาวสุโขทัยมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ อาชีพที่ทำ เช่น เกษตรกรรม หัตถกรรม ค้าขาย มีการใช้เงินพดด้วงและเบี้ยเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม สังคมในสมัยสุโขทัยมีขนาดไม่ใหญ่มาก สังคมไม่ซับซ้อนเพราะประชากรมีจำนวนน้อย ชนชั้นในสังคมแบ่งออกเป็นชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ขุนนางและผู้ถูกปกครอง ได้แก่ ราษฎร ทาส และพระสงฆ์ ชาวสุโขทัยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ดังจะเห็นได้จากการฟังธรรมในวันพระ มีการสร้างวัด พระพุทธรูปจำนวนมาก และมีการแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ไตรภูมิพระร่วง

2. วิถีชีวิตของคนไทยสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          วิถีชีวิตของคนไทยในสามช่วงเวลานี้กล่าวได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันและไม่มีความแตกต่างกันมากนัก การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยที่เห็นได้ชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา
สำหรับวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้นสรุปได้ดังนี้
1) ด้านการเมืองการปกครอง ในสมัยอยุธยาได้รับคติการปกครองแบบสมมติเทพมาจากเขมรที่ผู้ปกครองเปรียบดังเทพเจ้า จึงมีข้อปฏิบัติตามกฏมณเฑียรบาลที่ทำให้ผู้ปกครองมีความแตกต่างจากประชาชน เช่น การใช้ราชาศัพท์ การมีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับราษฎรจึงห่างเหินกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองก็เป็นธรรมราชาด้วยเช่นกัน สำหรับประชาชนถูกควบคุมด้วยระบบไพร่ ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้กับทางราชการ
2) ด้านเศรษฐกิจ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองและยังชีพอยู่ได้ ราษฎรสามารถผลิตสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวันใช้เองในครัวเรือน การค้าขยายตัวไม่มากเพราะถูกผูกขาดโดยพระคลังสินค้า สินค้าของตะวันตกส่วนใหญ่ขายได้เฉพาะสินค้าบางประเภท เช่น อาวุธปืน กระสุนปืน และสินค้าฟุ่มเฟือยที่ใช้ในราชสำนักหรือสำหรับกลุ่มที่มีฐานะ การติดต่อค้าขายกับภายนอกมากขึ้น ทำให้มีการจัดระเบียบหน่วยงานต่าง ๆ ชัดเจน เช่น มีกรมท่าและพระคลังสินค้าดูแลการติดต่อและการค้ากับต่างประเทศ การจัดระบบภาษีอาการและระบบเงินตรา
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม จากการติดต่อกับชุมชนภายนอก ไม่ว่าทางการค้า การทำสงคราม รวมถึงมีชาวต่างชาติเข้ามารับราชการในราชสำนัก ทำให้สังคมไทยสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีจากเขมร อินเดีย มอญ จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ ยุโรป เช่น การกำหนดชนชั้นของคนในสังคม กฎหมาย ประเพณี พระราชพิธีและธรรมเนียมในราชสำนัก วิถีการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เช่น การดื่มชา การใช้เครื่องถ้วยชาม เครื่องเคลือบ การปรุงอาหาร และขนมหวาน
สำหรับพระพุทธศาสนายังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยนี้เช่นเดียวกับสมัยสุโขทัย โดยประชาชนมีประเพณีในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น การเกิด การอุปสมบท การแต่งงาน การตาย และประเพณีเกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม เช่น การทำขวัญแม่โพสพ ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคม ดังจะเห็นได้จากการมีการมัสยิดและโบสถ์คริสต์ ทั้งที่กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานคร และยังมีการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม วรรณกรรม ประเพณี เพื่อความสำคัญของพระพุทธศาสนาและความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์          


        
  3. วิถีชีวิตของคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

 
          ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมากจากการรับวัฒนธรรมของชาติตะวันตก สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2398 และทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกอื่น ๆ ทำให้มีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก ได้แก่ ผู้ปกครองและชนชั้นสูง เช่น เจ้านาย ขุนนาง ต่อมาชนชั้นกลางได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย
1) ด้านการเมืองการปกครอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใกล้ชิดกับราษฎรมากขึ้น เช่น เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อยครั้ง อนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้า ฯ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินได้ ให้ราษฎรมองพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดินและถวายฎีกาแก่พระองค์ได้โดยตรง ตลอดจนมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งงานออกเป็นกระทรวง กรม ทำให้การฝึกคนเข้ารับราชการมากขึ้น
2) ด้านเศรษฐกิจ ข้าวกลายเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของไทย มีการบุกเบิกที่ดินเพื่อใช้ปลูกข้าว เช่น บริเวณรังสิต ปรับปรุงระบบชลประทาน การขุดคูคลอง และการตั้งโรงสีข้าว โดยชาวจีนเป็นผู้ค้าข้าวในประเทศและเป็นเจ้าของโรงสี ส่วนชาวยุโรปเป็นผู้ส่งออก
ต่อมาไทยผลิตสินค้าออกที่มีความสำคัญอีก 3 ประการ คือ ดีบุก ไม้สัก และยางพารา การเติบโตของการส่งออกดีบุก ทำให้มีชาวจีนอพยพเข้ามาเป็นแรงงานและอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของไทยมากขึ้น เช่น ที่ภูเก็ต
การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจทำให้การค้าขยายไปทั่วประเทศ เมืองขยายตัว เกิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคม พ่อค้าเร่ชาวจีนบรรทุกสินค้าไปขายยังหัวเมืองต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวจีนอพยพจากรุงเทพมหานครไปอาศัยอยู่ตามชุมชนเมืองในหัวเมือง ซึ่งพัฒนาเป็นชุมชนการค้าของเมืองนั้น ๆ และตั้งรกรากมาจนถึงปัจจุบัน
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากการปรับปรุงประเทศให้เข้าสู่ความทันสมัยแบบตะวันตก เช่น ราษฎรไทยได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสและไพร่ มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพ ได้รับการรักษาโรคด้วยวิชาการแพทย์แผนใหม่ สามัญชนมีโอกาสได้เล่าเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เข้าทำงานในกระทรวงต่าง ๆ อ่านหนังสือพิมพ์ ใช้รถไฟ รถยนต์ ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า น้ำประปา มีถนนหนทางใหม่ ๆ เพื่อใช้เดินทาง ทำให้ชีวิตของคนไทยสะดวกสบายมากขึ้น
นอกจากนี้ ชาวไทยทั้งหญิงและชายเริ่มแต่งกายให้เป็นแบบสากลนิยม รับประทานกาแฟ นม ขนมปัง เป็นอาหารเช้าแทนข้าว ใช้ช้อนส้อม นั่งโต๊ะเก้าอี้ มีโอกาสเดินทางไปศึกษาที่ต่างประเทศ รู้จักเล่นกีฬาแบบตะวันตก สร้างพระราชวัง สร้างบ้านแบบตะวันตก นิยมมีบ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัด ในสมัยรัชกาลที่ 6 คนไทยเริ่มมีคำนำหน้าชื่อบุรุษ สตรี เด็ก เป็นนาย นางสาว นาง เด็กชาย เด็กหญิง ตามลำดับ มีนามสกุลเป็นของตัวเอง ผู้หญิงเริ่มไว้ผมยาวและนุ่งผ้าซิ่น มีการใช้ธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติไทย เป็นต้น

4. วิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน



          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีผลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่าง ๆ หลายประการ ดังนี้
1) ด้านการเมืองการปกครอง ในสมัย พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบใน พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย เกิดองค์กรการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ประชาชนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่บางสมัยถูกปกครองโดยเผด็จการที่ยกเลิกรัฐธรรมนูญ มีการควบคุมสิทธิทางการเมืองของประชาชน
2) ด้านเศรษฐกิจ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยหลายอย่าง เช่น เกิดโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก คนในชนบทอพยพมาทำงานโรงงานมากขึ้น เกิดปัญหาความยากจนและช่องว่างทางเศรษฐกิจระกว่างภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม
ในทศวรรษ 2530 รัฐบาลมุ่งพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ แต่เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ทำให้ธุรกิจจำนวนมากล้มละลาย คนตกงานจำนวนมาก รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม สามารถแบ่งได้เป็นช่วง ๆ ดังนี้
3.1) สมัยการสร้างชาติ ตรงกับสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามสมัยแรก (พ.ศ. 2481 - 2487) ได้สร้างกระแสชาตินิยมและความเป็นไทยด้วยการออกรัฐนิยมหลายฉบับ เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศ ชื่อสัญชาติ ชื่อคนสยาม เป็นประเทศไทย สัญชาติไทย คนไทย มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน ทั้งหญิงและชายต้องสวมรองเท้า สวมหมวก ห้ามรับประทานหมากพลู ต้องใช้คำสรรพนามแทนตนเองว่า "ฉัน" และเรียกคนที่พูดด้วยว่า "ท่าน" เป็นต้น แต่ภายหลังวัฒนธรรมเหล่านี้ก็ถูกยกเลิกไป
3.2) สมัยการฟื้นฟูพระราชประเพณี ตรงกับสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. 2501 - 2506) ในสมัยนี้มีการฟื้นฟูความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ และฟื้นฟูพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนวันชาติจากวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาอย่างยิ่งใหญ่ จัดงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล และมีพิธีต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ พิธีที่ทำคุณประโยชน์ด้านต่าง ๆ ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค สนับสนุนการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างจังหวัดในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ มีการสร้างพระตำหนักในภูมิภาคต่าง ๆ ส่งเสริมโครงการหลวง โครงการพระราชดำริต่าง ๆ ออกข่าวพระราชสำนักผ่านโทรทัศน์และวิทยุเป็นประจำทุกวัน จะเห็นว่าการฟื้นฟูพระราชพิธี การสร้างธรรมเนียมต่าง ๆ เกี่ยวกับราชสำนักในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
3.3) สมัยการฟื้นฟูวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) ปัจจุบันคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์กรนี้ได้เข้าไปส่งเสริม ฟื้นฟู และสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นในที่ต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างได้รับการฟื้นฟูสืบทอด และประเพณีบางอย่างได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เช่น การจัดงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นต้น
3.4) สมัยการพัฒนาทางเศรษฐกิจถึงปัจจุบัน สมัยนี้ได้มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2504 ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การพัฒนาทางการศึกษา ทำให้อัตราผู้รู้หนังสือมากขึ้น จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและจำนวนมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น คนไทยนิยมไปเรียนต่อต่างประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกแพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยมากขึ้น
ในด้านครอบครัว ครอบครัวมีขนาดเล็ก โดยมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว สังคมแบบเครือญาติหรือสังคมชนบทของไทยเปลี่ยนไป วางแผนครอบครัวและความเจริญทางการแพทย์ ทำให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนมากขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กลดลงความสัมพันธ์แบบเครือญาติลดลง ผู้หญิงไทยออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น และเกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาเด็กเร่ร่อน ปัญหาสิ่งเสพติด ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น